เทคนิคมืออาชีพของการไล่ฟองอากาศงานหล่อเรซิ่นใส


ในงานหล่อเรซิ่นควรทำอย่างไรเมื่อเกิดฟองอากาศในชิ้นงาน ก่อนอื่นต้องแยกออกก่อนว่าเรซิ่นแต่ละเบส  ตัวไหนใช้ได้กับวิธีไหน เพราะบางตัวไวไฟครับ อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ ต้องศึกษาก่อนที่จะใช้วิธีนั้นๆว่าตัวนี้ใช้กับวิธีการนี้ได้ไหม

  • เรซิ่นที่เราจะใช้เป็นเบส โพลีเอสเตอร์เรซิ่น หรือ อีพ็อกซี่เรซิ่น เพราะถ้าเป็นโพลีเอสเตอร์ อัตราส่วนผสม 100/1-2% หากอยากจะให้เซตตัวเร็ว-ช้าแค่ไหนจะอยู่ที่เราใส่ตัวเร่ง
  • ส่วนอีพ็อกซี่จะเป็นส่วนผสม  A:B  อัตราส่วนจะแม่นยำ เช่น 1/1 , 2/1 , 3/1 ซึ่งจะเซตตัวด้วยตัวเองไม่เกิน 1 ชม.

แต่การเกิดฟองของทั้ง 2 ตัวนี้ ก็เกิดจากสาเหตุเดียวกัน เรามาดูกันก่อนดีว่าฟองอากาศในการหล่อเรซิ่นเกิดจากอะไร และการแก้ไขจัดการกับฟองอากาศของทั้ง 2 ตัวนี้ แตกต่างหรือเหมือนกันตรงไหน

ฟองในเรซิ่นเกิดจากอะไร

เกิดจากการคนผสม ทุกของเหลวเมื่อมีการเคลื่อนที่ จะมีฟองอากาศเกิดเกิดจากชิ้นงานที่เราใส่ไว้ด้านในมีรู มีโพรงอยู่ด้านในก็สามารถทำให้เกิดฟองอากาศได้ แค่เทหรือมีการเคลื่อนที่ของของเหลวก็เกิดฟองอากาศแล้ว

วิธีการไล่ฟองในเรซิ่นโพลีเอสเตอร์

  1. ถ้าเป็นชิ้นงานเรียบไม่หนา ในขณะที่เรซิ่นยังไม่เซ็ตตัว สามารถใช้ไม้จิ้มฟันจิ้มไปที่ฟองอากาศได้ 
  2. ใช้หลอดเป่าไปที่ฟองอากาศ วิธีนี้ก็จะใช้ได้แต่กับงานที่ไม่หนา พื้นหน้างานเปิดกว้างและเรียบ
  3. ตั้งทิ้งไว้ประมาณ 25-30 นาที ฟองก็สามารถหายไปได้ แต่ถ้าเราเอามาคนอีกครั้งสุดท้ายฟองก็ยังคงเกิด และถ้าตั้งทิ้งไว้อีก เรซิ่นอาจแข็งตัวก่อนที่เราจะได้ใช้งาน นอกจากเราจะใช้ตัวเร่งที่น้อยมากๆจาก 10 หยดอาจจะเหลืออยู่แค่ 2-3 หยด แต่ก็ต้องแลกมาด้วยการที่แห้งช้า อาจจะต้องรอถึง 2-3 วันเลยครับ ตอนที่เทเรซิ่นถ้าเกิดมีฟองเราอาจจะเขี่ยได้ทันก่อนที่จะแข็งตัว เทเสร็จเราก็ต้องตั้งไว้ในพื้นที่ที่เรียบ และไม่ควรขยับชิ้นงานนะครับ
  4. ถ้าเป็นชิ้นงานที่หนามากๆ สามารถใช้ถังแวคคั่มไล่ฟองอากาศ แต่ก็ต้องลดจำนวนการใส่ตัวเร่งเพื่อเพิ่มเวลาในการเซตตัว  เรซิ่นไม่แข็งคาถังแบบยังไม่เทลงโมลด์ครับ

วิธีการไล่ฟองในเรซิ่นอีพ็อกซี่

  1. ใช้ปืนไฟ ช่วยไล่ฟองอากาศ เพราะเรซิ่นชนิดนี้ไม่ไวไฟ และ เมื่อโดนไฟ จะอ่อนตัว ทำให้ความหนืดลดลง ทำให้ฟองอากาศแตกออกไปได้ด้วยเหตุผลนี้ จะใช้ปืนไฟไล่ฟอง (มีเปลวไฟ เป่าผ่านๆ ไม่จ่อไฟนาน เพราะสีงานอาจคล้ำ เข้มได้) หรือ ใช้ไดร์เป่าลมร้อน (มีแรงลม ทำให้ของเหลวกระพือ หากงานชิดขอบผนัง ต้องระวังแรงลมนี้ทำให้ควบคุมขอบยาก งานไม่สวย) (ใช้สำหรับงานไม่หนา)
  2. ใช้ถังแรงดัน (Pressure Tank) เอาเรซิ่นที่ผสม A กับ B แล้ว ใส่หม้อแวคคั่ม ดูดฟองออกให้หมด แล้วถึงจะมาเทใส่แม่พิมพ์ สําหรับคนที่ต้องการให้ใสให้สุด ไม่ให้มีฟองอากาศเลยเนี่ย เราแนะนําหม้อดึงดัน หลังจากแวคคัมเสร็จเปลี่ยนฝาเพรสเชอร์ แล้วอัดอากาศกลับเข้าไปเลย อันนี้ไม่เหลือฟองแน่นอน

การเกิดฟองอากาศในการหล่อเรซิ่นสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น การผสมเรซิ่นและตัวทำแข็ง การเทเรซิ่นลงแม่พิมพ์ อุณหภูมิ ความชื้น และวัสดุเสริมแรง การเกิดฟองอากาศส่งผลเสียต่อชิ้นงานหลายประการ เช่น ทำให้ชิ้นงานไม่สวยงาม มีจุดอ่อน และคุณสมบัติทางกายภาพลดลง ดังนั้น จึงควรหลีกเลี่ยงการเกิดฟองอากาศในการหล่อเรซิ่นโดยปฏิบัติตามเทคนิคต่างๆ ในการไล่ฟองอากาศ นอกจากเทคนิคข้างต้นแล้ว ยังมีเทคนิคอื่นๆ ที่ช่วยไล่ฟองอากาศได้ เช่น การใช้แม่พิมพ์ที่มีรูระบายอากาศ การใช้วัสดุเสริมแรง และการใช้อุณหภูมิที่เหมาะสม การเลือกเทคนิคที่เหมาะสมในการไล่ฟองอากาศขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น ประเภทของเรซิน รูปร่างของชิ้นงาน และอุปกรณ์ที่มี

แหล่งข้อมูล : www.resinsjthailand.com

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับถังแรงดัน



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

วิธีหล่อเรซิ่นกับของสด สตอเบอรี่สดในเรซิ่นใส

วิธีทำดอกไม้ในพิรามิดเรซิ่นใสเก๋ๆ

15 สิ่งในการทำงานเรซิ่นที่ DIY มือใหม่ต้องรู้